พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ ๐๕๑

พระมหาเศรษฐีนวโกฏิ

หน้าตักกว้าง : ๒๗ ซม. / สูงรวมฐาน : ๓๖.๒ ซม.เนื้อนวโลหะศิลปะสมัยรัตนโกสินทร์

ตามตำนานของชาวล้านนาบันทึกไว้ว่า ในสมัยโบราณสมัยหนึ่งเกิดทุกข์เข็ญ ทุพภิกขภัยข้าวยากหมากแพง ประชาชนเดือดร้อน บังเกิดความอดอยากขึ้น จึงมีพระภิกษุผู้เป็นอริยะรูปหนึ่งแนะนำให้สร้างพระเศรษฐีนวโกฏิขึ้น เพื่อสักการบูชาแก้เคล็ดในความทุกข์ยากทั้งหลาย และเมื่อสร้างและฉลองสำเร็จ ก็ปรากฏมีเหตุการณ์อัศจรรย์คือ ความทุกข์ยากอดอยากทั้งหลายได้บรรเทาลงและสงบระงับในที่สุด จึงเป็นคติที่เชื่อถือของชาวล้านนาว่าถ้าผู้ใดได้บูชาพระเศรษฐีนวโกฏิแล้ว จะมีสิริมงคล ทำมาค้าขึ้น ประสบแต่โชคลาภ อยู่เย็นเป็นสุข ด้วยอานิสงส์แห่งบารมีธรรมของเศรษฐีทั้ง 9 ท่าน     ตามคติความเชื่อที่ว่า พระเศรษฐีนวโกฏิ เป็นที่สุดแห่งพุทธคุณด้านมหาเศรษฐี ร่ำรวยมั่งมีทรัพย์ ถ้าผู้ใดได้กราบบูชาพระเศรษฐีนวโกฏิแล้ว จักเป็นผู้มีอำนาจบารมี ยังผลให้เป็นผู้ที่เจริญในโภคทรัพย์ เงินทอง การงานต่างๆ สิ่งที่พึงปรารถนาพึงสำเร็จก้าวหน้ามั่นคง และมั่งมีตลอดกาล               จนในที่สุดเจริญขึ้นเป็นมหาเศรษฐีทรัพย์สมบัติมากมาย ประสบแต่โชคลาภ ปกปักรักษาให้บ้านเรือนร่มเย็นเป็นสุข และเจริญด้วยอายุ วรรณะ สุขะ พละ ปฏิภาณ ธนสารสมบัติ ทุกภพ ทุกชาติไป คาถาบูชาพระมหาเศรษฐีนวโกฏิ

ตำราการสร้างพระกริ่งเศรษฐีนวโกฏินั้น มาจากที่ใดไม่ปรากฏ แต่สันนิษฐานกันว่าเป็นพระที่พระเถราจารย์ชาวรามัญโบราณสร้างไว้ โดยสมัยก่อนอาจใช้ไม้มาแกะเป็นพระเก้าหน้าแทนการหล่อด้วยโลหะ เพราะในวงการเคยพบพระไม้แกะเป็นรูปพระเก้าหน้า หรือพระนวโกฏอมาจากเมืองมอญ ไม้ที่ใช้แกะพระนวโกฏินั้นมีด้วยกันหลายชนิด ที่นิยม เช่น ไม้ขนุน ไม้จิก หรือไม้เนื้อแข็งอย่างสักและประดู่แดง พระเศรษฐีนวโกฏิตามตำรามอญนั้นเคยได้ยินคนแก่ชาวมอญปทุมเขาเล่าให้ฟังว่า ที่ใต้ฐานพระจะเจาะให้เป็นรูเพื่ออุดของมงคลจำพวกตะกรุดทองคำ พระบรมสารีริกธาตุ หรือพระธาตุ พระสิวลี แทนก็ได้ และจะอุดรูด้วยชันโรง หรือผงวิเศษของพระอาจารย์เจ้าผู้สร้าง
          นอกจากนี้มีบันทึกเอาไว้ด้วยว่า พระเถราจารย์ชาวมอญ ยังมีตำราการสร้างพระเครื่องชั้นยอดอีกอย่างที่เรียกว่า พระอาหาร กล่าวคือ ในขณะกระทำภัตรกิจ หากอาหารคำใดที่ฉันเข้าไปแล้วมีรสชาติหวานอร่อยลิ้น พระเถราจารย์ผู้เคร่งครัด ในพระธรรมวินัยชาวรามัญจะคายข้าวคำอร่อยคำนั้นใส่มือทันที และจะนำข้าวคำอร่อยมาตากแดดให้แห้งเก็บสะสมไว้ เมื่อได้จำนวนมากขึ้นแล้วก็จะนำมาตำบดให้ละเอียดเพื่อผสมเป็นมวลสารสร้างพระต่อไปพระที่สร้างได้นี้เขาเรียกว่า พระอาหาร มีคุณวิเศษคือเมื่อสร้างเป็นองค์พระแล้ว ปลุกเสกด้วยบทพุทธคุณ ธรรมคุณ สังฆคุณแล้ว จะมีคุณด้านโภคทรัพย์ ไม่อดอยาก ในเรื่องอาหารการกินเลย ไม่อดอยากในเรื่องทรัพย์สินเงินทองเลย ว่ากันว่าหลวงพ่ออุตตมะท่านก็เคยสร้างพระอาหารไว้เหมือนกัน รู้สึกจะสร้างไว้เพียงครั้งเดียวเท่านั้น
          ซึ่งต่อมาเมื่อคติการสร้างพระกริ่งในเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราชแพแห่งวัดสุทัศน์ได้แพร่หลายไปสู่วัดต่างๆ การสร้างพระกริ่งในช่วงหลังจึงพยายามกระทำพิธีกรรมตามแบบสมเด็จพระสังฆราชแพทั้งสิ้นคือมีการจารอักขระ แผ่นยันต์ต่างๆ สุมหุ่นและพิธีเททองหล่อพระ การสร้างพระกริ่งเศรษฐีนวโกฏิก็เช่นกัน พระอาจารย์ผู้สร้างได้ดัดแปลงเอาส่วนดีของการสร้างพระกริ่งมาใช้ในการสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ เพียงแต่แผ่นยันต์ในการสร้างพระเศรษฐีนวโกฏินั้นจำต้องใช้พระยันต์เฉพาะในด้านโภคทรัยพ์มาเสริมเพิ่มเติมให้ขลังขึ้นเท่านั้น

          “ชื่อได้เวลาดี” นี่คือเหตุผลการสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิของวัดต่างๆ การจัดสร้างวัตถุมงคลต่างๆ ทั้งที่วัดและพระสงฆ์จัดสร้างขึ้นเอง รวมทั้งองค์กรการกุศลต่างๆ ล้วนเป็นพุทธพาณิชย์ทั้งสิ้น เมื่อเป็นพุทธพาณิชย์การเลือกสร้างวัตุมงคลประเภทใดประเภทหนึ่ง ต้องดูกระแสตอบรับ และความต้องการของตลาด
          มิเช่นนั้นผู้สร้างมีโอกาสขาดทุนสูง ในกรณีของการจัดสร้างพระเศรษฐีนวโกฏิ ถือว่าเป็นพระที่มีมงคลนามสุดยอดแห่งความรวยทุกๆ ด้าน พระเศรษฐีนวโกฏิ เป็นรูปเคารพแทนมหาเศรษฐีทั้ง ๙ ซึ่งทั้งหมดเป็นมหาเศรษฐีในสมัยพุทธกาล
          พระเศรษฐีนวโกฏิ ท่านเหล่านี้เป็นผู้สร้างคุณประโยชน์อเนกอนันต์ให้แก่พระพุทธศาสนา มีความมั่งคั่งในโภคทรัพย์อยู่ในระดับเดียวกับกษัตริย์ ทั้งยังเป็นสัมมาทิฐิ และยังเป็นพุทธอุปฐากองค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้า ซึ่งพระองค์ทรงยกย่องว่าท่านเหล่านี้เป็นผู้เลิศในการทำทานและเป็นยอดของมหาเศรษฐีทั้งปวง มหาเศรษฐีทั้ง ๙ ท่านนี้ ล้วนสำเร็จเป็นพระอริยบุคคล ทั้งที่ดำรงเพศฆราวาสตามตำนานของชาวล้านนา
          สัณฐานของพระเศรษฐีนวโกฏิ มี ๙ พระพักตร์เรียงกัน หรือบางแห่งทำให้ซ้อนกันขึ้นไปด้านบน ปางนั่งขัดสมาธิเพชรบนฐานบัวพระหัตถ์พนมมือ ระดับนิ้วพระหัตถ์กลางจะตรงต้นพระศอ (ปลายนิ้วกลางอยู่ตรงพระหนุพอดี)         พระเศรษฐีนวโกฏิ พระพักตร์ทั้ง ๙ แทนเศรษฐีต่างๆ ดังนี้๑.ท่านธนันชัยเศรษฐี๒.ท่านยัสสะเศรษฐี๓.ท่านสุมานะเศรษฐี๔.ท่านชะฏิกัสสะเศรษฐี๕.ท่านอนาถปิณฑิกเศรษฐี๖.ท่านเมนฑะกัสสะเศรษฐี๗.ท่านโชติกะเศรษฐี๘.ท่านสุมังคะกัสสะเศรษฐี๙.ท่านวิสาขามหาอุบาสิกา 

 

รับรองข้อมูลโดยผู้ทรงคุณวุฒิด้านองค์พระ

นางปริญญา สุขใหญ่
หัวหน้าพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสุรินทร์

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องข้อมูลจำเป็นถูกทำเครื่องหมาย *